หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ
อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
 
   
ติดต่อ
อบต.
โทร. 032-822-053 , 032-822-054
 
HOT NEWS  
องค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ เต็มใจให้บริการค่ะ/ครับ
 
อำนาจหน้าที่
 
 
 
  อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562
    มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
    ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 67)
      (1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
      (1/1) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
      (2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและ สิ่งปฏิกูล
      (3) ปูองกันโรคและระงับโรคติดต่อ
      (4) ปูองกันและบรรเทาสาธารณภัย
      (5) จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก ตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
      (6) ส่งเสริมกรรพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอำยุ และผู้พิการ
(7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      (8) บำรุงรักษาศิลปะ จำรีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
      (9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือ บุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
    ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 68)
      (1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
      (2) ให้มีและบำรุงการไฟฟูาหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
      (3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
      (4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
      (5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
      (6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
      (7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
      (8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
      (9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์กำรบริหารส่วนตำบล
      (10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
      (11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
      (12) การท่องเที่ยว
      (13) การผังเมือง
    การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะดำเนินกิจการใดๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบลต้องแจ้งให้ อบต. ทราบล่วงหน้าตามสมควรหากอบต. มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้นำความเห็นของ อบต. ไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย (มาตรา 69)
    การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด (มาตรา 69/1)
    มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการ ในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (มาตรา 70)
    ออกข้อบัญญัติ อบต. เพื่อใช้บังคับในตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ของ อบต.ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บ และกำหนดโทษปรับผู้ฝุาฝืนด้วยก็ได้แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกิน 1,000 บาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา 71)
    อาจขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วย การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติกิจการของ อบต. เป็นการชั่วคราวได้โดย
ไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม (มาตรา 72)
    อาจทำกิจการนอกเขต อบต. หรือร่วมกับสภาตำบล อบต. อบจ. หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ (มาตรา 73)
 
  อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของ
ตนเอง ดังนี้ (มาตรา 16)
      (1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
      (2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้า และทางระบายน้ำ
      (3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
      (4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
      (5) การสาธารณูปการ
      (6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
      (7) การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน
      (8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
      (9) การจัดการศึกษา
      (10) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรีคนชรา และผู้ด้อยโอกาส
      (11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
      (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
      (13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
      (14) การส่งเสริมกีฬา
      (15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
      (16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
      (17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
      (18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
      (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
      (20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
      (21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
      (22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
      (23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และ
สาธารณสถานอื่น ๆ
      (24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากปุาไม้ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม
      (25) การผังเมือง
      (26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
      (27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
      (28) การควบคุมอาคาร
      (29) การปูองกันและบรรเทาสาธารณภัย
      (30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการปูองกันและรักษาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน
      (31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องที่ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
    อำนาจหน้าที่ของ อบต. ตามข้อ 1 ต้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนและการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 
  คู่มือประชาชน
  แบบฟอร์ม เอกสาร
สำหรับใช้ติดต่อราชการ
 
   
  การจัดการองค์ความรู้
  ภายในองค์กร
 
   
 
  คำแนะนำการชำระภาษี
  ภาษีทุกบาทจะคืนสู่ประชาชน
ด้วยการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ
อย่างยั่งยืน
   
   
   
  ภาษีป้าย
  ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
 
 
 
 
 
 
สายตรงนายก
โทร : 081-941-4665
 
องค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77150 โทรศัพท์ : 032-822-053 , 032-822-054 โทรสาร : 032-822-054
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ
จำนวนผู้เข้าชม 336,142 เริ่มนับ 1 พ.ย. 2565
จัดทำโดย : NAXsolution.com
 
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ | นโยบายคุกกี้ | แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10